มะละกออินทรีย์

มะละกออินทรีย์
ทางเลือกใหม่ของการปลูกมะละกอ

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคใบจุด อีกโรคร้ายของมะละกอ แก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตราย

โรคใบจุดมะละกอ อีกโรคร้ายของมะละกอ แก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตราย


โรคใบจุดมะละกอ  เกิดจากเชื้อรา กลุ่ม Cercospora papayae และ เชื้อรา Coryenaespora sp. เป็นกลุ่มเชื้อราที่เข้าทำลายมะละกอจะทำให้ใบมะละกอ มีลักษณะเป็นจุดสีขาวอมเทาแล้วกระจายตัวเป็นสีเหลืองออกทั่วใบ จะทำให้ใบมะละกอซีดเหลือง ถ้าเป็นมาก ๆ จะทำให้มะละกอเหลืองและแห้งตายได้

โรคนี้ความเป็นอันตรายไม่รุนแรงเท่า โรคไวรัสด่างวงแหวน แต่ทำให้มะละกอชะงักการเจริญเติบโต          แคระเกร็น และอ่อนแอต่อโรคไวรัสด่างวงแหวน





โรคนี้มักจะเกิดขึ้นช่วงหน้าฝน  หรือปลายฝนต้นหนาว ถ้าเป็นต้นใดต้นหนึ่งแล้วจะลุกลามอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นโรคใบจุดไปทั่วทั้งแปลงปลูก

การป้องกันโรคใบจุดมะละกอ



1.เมื่อเห็นอาการใบจุดในมะละกอซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับใบล่างก่อนเป็นส่วนใหญ่ ให้เรารีบตัดใบที่เป็นโรค ทิ้งแล้วนำออกไปทิ้งนอกแปลงทันทีป้องกันการลุกลาม  ข้อควรระวัง ถ้ามะละกอเป็นโรคนี้หลายต้น ให้ล้างที่ตัดใบทิ้งด้วยแอลกอฮอล์ 70เปอร็เซ็นต์ ก่อนที่จะนำมีดไปตัดต้นอื่น เพื่อฆ่าเชื้อรา ไม่เช่นนั้นเชื้อราโรคใบจุดจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว

2. ให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีมีส่วนผสมของ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรื ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูง เพราะปุ๋ยยูเรียเป็นสารกระตุ้นอย่างดีให้เชื้อรากระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว

3. งดการใช้น้ำหมักชีวภาพ หรือ อาหารเสริมใดๆ ที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล หรือ น้ำตาลชนิดต่าง ๆ เพราะสารเหล่านี้ เป็นอาหารชั้นเลิศของเชื้อรา ทำให้เชื้อราลุกลามไปทั้งแปลงได้อย่างรวดเร็ว

4.การให้ปุ๋ยเคมีสำหรับ มะละกอ ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีโดยลงบริเวณรากของมะละกอ รากมะละกออาศัยอยู่บริเวณผิวดิน เมื่อโดนปุ๋ยเคมีโดยตรงจะทำให้มะละกอแพ้ปุ๋ยเคมี ควรจะทำการใช้ไวท์อีเอ็มหมัก ปุ๋ยเคมีก่อน หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นลงดิน



ตัวการให้ปุ๋ยมะละกอ โดยการหมักก่อนแล้วฉีดพ่นลงดินทุก 10 วัน


การกำจัดโรคใบจุดมะละกอ


1.ให้ตัดแต่งที่เป็นโรคทิ้ง โดยเน้นใบล่าง แล้วนำไปทิ้งนอกแปลทันที

2.ฉีดพ่น สมุนไพรต้านโรคพืช เวตาเอ็กซ์ตรา อัตรา 30-50 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร ผสมสารช่วยการดูดซึมนำทาง2 อัตรา 1-3 ซีซี. ฉีดพ่นทุก 5 วัน ติดต่อกัน ให้ทั่วทั้งแปลง ฉีดพ่นทุกต้นทั้งต้นที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ  ประมาณ 3-5 ครั้งโรคนี้ก็จะหยุดการแพร่กระจาย                                            หมายเหตุ : ใบมะละกอที่ถูกเชื้อราทำลายจนใบทะลุแล้ว ไม่สามารถประสานมาติดกันได้ใหม่ แต่เชื้อโรคถูกทำลายแล้ว มะละกอจะแตกยอดใหม่ แล้วจะสลัดใบแก่ทิ้งไปเอง




3. การฉีดพ่นสมุนไพรต้านเชื้อรา เวตาเอ็กซ์ตรา ควรฉีดพ่นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ไม่ควรฉีดตอนอากาศร้อนจัด ๆ ช่วงเช้าหรือช่วงเย็นปากใบเปิดจะทำให้สมุนต้านเชื้อราออกฤทธิ์ได้ดี

การใช้สมุนกำจัดเชื้อราแทนการใช้สารเคมี จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอมีสูขภาพดี  ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรไม่มีพิษตกค้าง สมุนไพรไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจำเพาะ

 : สมุนไพรต้านเชื้อรา เวตาเอ็กตรา เป็นสกัดจากสมุนธรรมชาติ กลุ่มว่านน้ำ เปลือกมังคุด ข่าเหลือง และสมุนไพรหลายชนิด          มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการแพร่กระจายของสปอร์เชื้อรา
: สมุนไพรต้านเชื้อราโรคพืช เวตาเอ็กซ์ตรา ผลิตและจัดจำหน่ายโดยชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า
: ราคาผลิตภัณฑ์ ขนาด 1 ลิตร 600 บาท จัดส่งทางไปรษณีย์และขนส่งด่วนเคอรี่เอ็กซ์เพรสทั่วประเทศ ค่าจัดส่ง 80 บาท
: การสั่งซื้อติดต่อชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า โทร 0860596790 LINE ID : aoacthai

: การชำระเงิน  ผ่านธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์ ชื่อบัญชี นายประยงค์  แก้วหมุน


สารช่วยการดูดซึมชนิดพิเศษ นำทาง2  ชมคลิป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น