มะละกออินทรีย์

มะละกออินทรีย์
ทางเลือกใหม่ของการปลูกมะละกอ

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อบรมการผลิตมะละกออินทรีย์เงินล้าน

อบรมการผลิตมะละกออินทรีย์เงินล้าน


วันอาทิตย์ ที่ 27/11/59 ณ. ห้องปฏิบัติการ การผลิตพืชชอินทรีย์ชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า อ.ปากช่อง จ.นคราชสีมา เวลา 10.00 -16.00 น.
- เรียนรู้ทำความรู้จักธรรมชาติของมะละกอ 
-หลักการปลูกมะละกออินทรีย์ไม่ให้เป็นโรคไวรัสด่างวงแหวน
-การผลิตมะละกอ ออกนอกฤดู ตันละ 40000 บาททำได้อย่างไร

ภาคปฏิบัติ การเพาะเมล็ดพันธุ์ แบบมืออาชีพ การย้ายกล้าปลูก การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นพืช
ภาคเช้า ทฤษฎี ภาคบ่าย ปฏิบัติ เน้นเรียนจบแล้วนำไปใช้ได้จริง เที่ยงวันเลี้ยงอาหารฟรี
บรรยายโดย อ.ญาฎา ธนเศรษฐี 1 ในเซียนมะละกอ ที่มีประสบการณ์ในการผลิตมะละกออินทรีย์คุณภาพมากกว่า 10 ปี

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1.เกษตรกรยุคใหม่ผู้ปรารถนาพึงพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง
2.เกษตรกรหรือผู้สนใจ อยากปลูกมะละกอแบบมืออาชีพ เน้นทำเกษตรกรรมเชิงรุก แบบเกษตรอินทรีย์ไร้สารพิษ


รับสมัครเพียง 15 คนเท่านั้น เป็นหลักสูตรเน้นปฏิบัติไม่เน้นทฤษฎี ทุกคนที่เข้ารับการฝึกอบรมได้ปฏิบัติจริง ลงมือทำด้วยตนเอง หลักสูตรนี้ไม่เน้นปริมาณ เน้นคุณภาพอย่างเดียวเท่านั้น
สนใจลงชื่อที่อยู่ พร้อม พร้อมเบอร์โทรศัพ์ที่ ID LINE : aoacthai หมายเหตุ : อบรมฟรีตลอดหลักสูตรครับ

โรคใบจุด อีกโรคร้ายของมะละกอ แก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตราย

โรคใบจุดมะละกอ อีกโรคร้ายของมะละกอ แก้ไขได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตราย


โรคใบจุดมะละกอ  เกิดจากเชื้อรา กลุ่ม Cercospora papayae และ เชื้อรา Coryenaespora sp. เป็นกลุ่มเชื้อราที่เข้าทำลายมะละกอจะทำให้ใบมะละกอ มีลักษณะเป็นจุดสีขาวอมเทาแล้วกระจายตัวเป็นสีเหลืองออกทั่วใบ จะทำให้ใบมะละกอซีดเหลือง ถ้าเป็นมาก ๆ จะทำให้มะละกอเหลืองและแห้งตายได้

โรคนี้ความเป็นอันตรายไม่รุนแรงเท่า โรคไวรัสด่างวงแหวน แต่ทำให้มะละกอชะงักการเจริญเติบโต          แคระเกร็น และอ่อนแอต่อโรคไวรัสด่างวงแหวน





โรคนี้มักจะเกิดขึ้นช่วงหน้าฝน  หรือปลายฝนต้นหนาว ถ้าเป็นต้นใดต้นหนึ่งแล้วจะลุกลามอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นโรคใบจุดไปทั่วทั้งแปลงปลูก

การป้องกันโรคใบจุดมะละกอ



1.เมื่อเห็นอาการใบจุดในมะละกอซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับใบล่างก่อนเป็นส่วนใหญ่ ให้เรารีบตัดใบที่เป็นโรค ทิ้งแล้วนำออกไปทิ้งนอกแปลงทันทีป้องกันการลุกลาม  ข้อควรระวัง ถ้ามะละกอเป็นโรคนี้หลายต้น ให้ล้างที่ตัดใบทิ้งด้วยแอลกอฮอล์ 70เปอร็เซ็นต์ ก่อนที่จะนำมีดไปตัดต้นอื่น เพื่อฆ่าเชื้อรา ไม่เช่นนั้นเชื้อราโรคใบจุดจะกระจายได้อย่างรวดเร็ว

2. ให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีมีส่วนผสมของ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรื ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูง เพราะปุ๋ยยูเรียเป็นสารกระตุ้นอย่างดีให้เชื้อรากระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว

3. งดการใช้น้ำหมักชีวภาพ หรือ อาหารเสริมใดๆ ที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล หรือ น้ำตาลชนิดต่าง ๆ เพราะสารเหล่านี้ เป็นอาหารชั้นเลิศของเชื้อรา ทำให้เชื้อราลุกลามไปทั้งแปลงได้อย่างรวดเร็ว

4.การให้ปุ๋ยเคมีสำหรับ มะละกอ ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีโดยลงบริเวณรากของมะละกอ รากมะละกออาศัยอยู่บริเวณผิวดิน เมื่อโดนปุ๋ยเคมีโดยตรงจะทำให้มะละกอแพ้ปุ๋ยเคมี ควรจะทำการใช้ไวท์อีเอ็มหมัก ปุ๋ยเคมีก่อน หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นลงดิน



ตัวการให้ปุ๋ยมะละกอ โดยการหมักก่อนแล้วฉีดพ่นลงดินทุก 10 วัน


การกำจัดโรคใบจุดมะละกอ


1.ให้ตัดแต่งที่เป็นโรคทิ้ง โดยเน้นใบล่าง แล้วนำไปทิ้งนอกแปลทันที

2.ฉีดพ่น สมุนไพรต้านโรคพืช เวตาเอ็กซ์ตรา อัตรา 30-50 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร ผสมสารช่วยการดูดซึมนำทาง2 อัตรา 1-3 ซีซี. ฉีดพ่นทุก 5 วัน ติดต่อกัน ให้ทั่วทั้งแปลง ฉีดพ่นทุกต้นทั้งต้นที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ  ประมาณ 3-5 ครั้งโรคนี้ก็จะหยุดการแพร่กระจาย                                            หมายเหตุ : ใบมะละกอที่ถูกเชื้อราทำลายจนใบทะลุแล้ว ไม่สามารถประสานมาติดกันได้ใหม่ แต่เชื้อโรคถูกทำลายแล้ว มะละกอจะแตกยอดใหม่ แล้วจะสลัดใบแก่ทิ้งไปเอง




3. การฉีดพ่นสมุนไพรต้านเชื้อรา เวตาเอ็กซ์ตรา ควรฉีดพ่นช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ไม่ควรฉีดตอนอากาศร้อนจัด ๆ ช่วงเช้าหรือช่วงเย็นปากใบเปิดจะทำให้สมุนต้านเชื้อราออกฤทธิ์ได้ดี

การใช้สมุนกำจัดเชื้อราแทนการใช้สารเคมี จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอมีสูขภาพดี  ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรไม่มีพิษตกค้าง สมุนไพรไม่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม

ข้อมูลจำเพาะ

 : สมุนไพรต้านเชื้อรา เวตาเอ็กตรา เป็นสกัดจากสมุนธรรมชาติ กลุ่มว่านน้ำ เปลือกมังคุด ข่าเหลือง และสมุนไพรหลายชนิด          มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการแพร่กระจายของสปอร์เชื้อรา
: สมุนไพรต้านเชื้อราโรคพืช เวตาเอ็กซ์ตรา ผลิตและจัดจำหน่ายโดยชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า
: ราคาผลิตภัณฑ์ ขนาด 1 ลิตร 600 บาท จัดส่งทางไปรษณีย์และขนส่งด่วนเคอรี่เอ็กซ์เพรสทั่วประเทศ ค่าจัดส่ง 80 บาท
: การสั่งซื้อติดต่อชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า โทร 0860596790 LINE ID : aoacthai

: การชำระเงิน  ผ่านธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์ ชื่อบัญชี นายประยงค์  แก้วหมุน


สารช่วยการดูดซึมชนิดพิเศษ นำทาง2  ชมคลิป




วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการเพาะมะละกอแบบมืออาชีพ

เทคนิคการเพาะมะละกอแบบมืออาชีพ


การเพาะเมล็ดพันธุ์มะละกอไม่ยากอย่างที่คิด ลองทำตามขั้นตอนดูนะครับ
1.ให้ นำน้ำเดือด 1 ลิตร ผสมน้ำธรรมดา  1ลิตร  แช่เมล็ดทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นเติม
 ไคโตซาน ชนิดน้ำ  5 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อกระตุ้นการงอก
2. นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว 1 คืนขยี้เมือกออกแล้วล้างให้สะอาด แล้วนำเมล็ดมาแช่ใน สารละลาย                    วีอาร์โปรเทค (สมุนไพรกระตุ้นการงอก และ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืข) อัตราการใช้ 50 ซี.ซี ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที
3. จากนั้นนำเมล็ดมะละกอไปบ่มในกระสอบป่าน วางในห้องน้ำรดน้ำเช้าเย็น หรือ บ่มในผ้าขนหนู จนกว่าเมล็ดจะงอก แล้วนำไปหยอดลงถาดหลุมสำหรับเพาะเมล็ดขนาด 60 หลุม


4. นำอาหารมีเดียชนิดพิเศษสำหรับการเพาะมะละกอเท่านั้น โดย ใส่ในถาดหลุมขนาด
60  หลุม ให้ใส่ให้เต็ม เอามือกดให้แน่น แล้วหยอดเมล็ดหลุมละ 3 เมล็ด 

แล้วใช้อาหารมีเดียชนิดพิเศษโรยทับเมล็ดมะละกอบาง ๆ


เลือกใช้มีเดีย ไม่ใช้ดิน เพราะ


-ปลอดเชื้อ
- ความเป็นกรด-ด่างเหมาะสม
-ไม่ต้องผสมดิน ไม่ยุ่งยาก

5. หลังจากนั้น ให้ทำการพ่นให้น้ำเปล่าทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
6. หลังจากต้นกล้างอก 10 วันให้เอา กาโร  อัตราการใช้ 5 ซีซีผสมน้ำ 20 ลิตร
โดยใช้เครื่องพ่นยาชนิดแบตเตอรี่พ่นฝอยพ่นทุก ๆ 5 วัน

7. ต้นกล้างอก 3 สัปดาห์ให้เริ่มเอาออกกมาตากแดดนะครับ

8. ซูซาร์ สารไล่แมลง 50 ซี.ซี ผสมนำทาง 1 ซีซี. ฉีดพ่นแมลงบริเวณที่วางต้นกล้า
และรอบ ๆ ทุก ๆ 5 วัน อย่าพ่นให้โดนต้นกล้านะครับ
9. การวางต้นกล้าให้วางในโรงเรือนที่ไม่โดนฝน และไม่ควรวางต้นกล้ากับพื้นดินเพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าที่มากับพื้นดิน


ข้อมูลเพิ่มเติม
1.กาโรสารตัวช่วยพืช ขนาดประหยัด 100 ซีซี. 150 บาท
2.วีอาร์โปรเทค  ขนาดประหยัด 100 ซีซี. 100 บาท  
3.เอซีไคโตซาน ขนาดประหยัด 100 ซีซี.  100 บาท
4.เมล็ดพันธุ์มะละกอรับประกัน ขนาด 20 กรัม 500 บาท                                                                               ขนาด 50 กรัม 950 บาท
5.สั่งจองต้นกล้ามะละกอพร้อมปลูกในถาดหลุมขนาด 60หลุมๆละ 3 ต้นถาดละ 300 บาท
 ในถุงดำ 3 ต้น 9 บาท จัดส่งทางขนส่งเคอรี่เอ็กซ์เพรส
 สนใจโทร 086-059-6790 ID line : aoacthai
หมายเลขบัญชีการชำระค่าสินค้า 123-2-45945-6
ธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์
ชื่อบัญชี นายประยงค์ แก้วหมุน ประเภท ออมทรัพย์
การจัดส่งสินค้า จัดส่งผ่านไปรษณีย์ Ems ใช้ระยะเวลา 1-3 วัน                                                                                         
ติดต่อผ่านไลน์ 

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

เขาหาว่าผมเป็นเซียนมะละกอ

เขาหาว่าผมเป็นเซียนมะละกอ

ภาพสมัยหนุ่ม ๆ

ก่อนจะมาเป็นเซียนมะละกอ ผมล้มลุกคลุกคลานมาก่อน  ปลูกมะละกอครั้งแรกเป็นไวรัสเกือบหมด  เดือดร้อนไปถึง ธกส.ต้องยืนโนติสเตรียมยึดที่ดินทำกิน เพราะไม่ยอมจ่ายหนี้เขา 3แสนกว่าบาท


มานั่งทบทวนอยู่หลายวัน  ก็ได้คำตอบออกมาว่า เราไม่รู้จักมะละกอ เราจะปลูกมะละกอสำเร็จได้อย่างไร ถ้าอยากปลูกมะละกอให้สำเร็จ เราต้องรู้จักเขาให้ดีพอ  ก่อนหน้านี้เราปลูกมะละกอตามคำแนะนำของร้านค้าขายปุ๋ยขายยาเคมีการเกษตร  มะละกอเป็นอะไรเราก็ไปเล่าให้เขาฟัง เขาจัดยาให้ เราก็นำมาฉีดพ่น  ไม่สนใจว่าจะเป็นอินทรีย์หรือเคมี ขอให้มะละกอเรารอดเป็นใช้ได้  สุดท้ายมันก็เป็นไวรัสตายทีละต้น 2 ต้น จนหมดแปลง  แต่ที่แปลก มันจะตายตอนติดลูกดกเต็มคอ เสียดายมาก ๆ ตัดต้นทิ้งไปเศร้าใจไป



ทำการรู้จักธรรมชาติของมะละกอ  เรียนรู้ให้ลึกซึ้ง แล้วเริ่มต้นปลูกใหม่

กลับไปศึกษาเรื่องดิน เรื่องพืช เรื่องปุ๋ย เรื่องน้ำ สารพัดเรื่องเกี่ยวกับการทำเกษตร ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน  สถาบันที่ตัวเองเรียนจบปริญญามา ตอนแรกที่กลับไปอาจารย์ภาคปฐพีถามว่า   อ้าวจบแล้วจะมาเรียนอีกทำไม  ตอบอาจารย์กลับไปว่า รับปริญญาแล้วผมไม่รุ้อะไรเลย ขอเรียนเรื่องดินอีกทีครับ ผมจะเรียนการตรวจความเป็นกรดเป็นด่างของดินและธาตุอาหารในดิน เรียนโครงสร้างของดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชแต่ละชนิด  สูตรการผสมปุ๋ยต่าง ๆ ปุ๋ยมีที่ไปที่มาอย่างไร


จากภาควิชาปฐมพีวิทยาก็ไปดูการปลูกมะละกอที่ภาควิชาพืชสวน ไปศึกษาเรื่องเพศมะละกอกับ อ.ดร.ระวี


  ไปคุยกับอาจารย์ภาควิชาโรคพืช ไปปรึกษาเรื่องไวรัสด่างวงแหวนในมะละกอ อาจารย์บอกว่าไวรัสเกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรคแล้วกระจายไปทั่วแปลง  ผมกลับไปภาควิชากีฏวิทยาอีกครั้ง ไปศึกษาเรื่องแมลงศัตรูมะละกอ  ไปเรียนการวางระบบน้ำกับรุ่นพี่วิศวเกษตร





 แล้วเริ่มต้นปลูกมะละกอใหม่ ให้ความสนใจทุกขั้นตอน  ตั้งแต่การเตรียมดิน


 การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การป้องกันกำจัดแมลง  การป้องกันกำจัดโรคพืช  การป้องกันกำจัดวัชพืช



ผมลองผิดลองถูกตามหลักวิชาการที่ได้เล่าเรียนมารอบใหม่ ผมค่อยๆเริ่มหันมาผลิตพืชแบบอินทรีย์ ใช้สารเคมีน้อยลง จนในที่สุดเลิกใช้สารเคมีหันมาใช้สารอินทรีย์แบบคิดเองเต็มรูปแบบ แปลกมากยิ่งใช้สารอินทรีย์  มะละกอเป็นโรคน้อยลง  เพราะผมใช้หลักการป้องกันโรค ผมไม่รักษา เพราะผมรู้ว่ารอบที่ผ่านมาไวรัสมะละกอมันรักษาไม่หาย ฉะนั้นผมป้องกันตั้งแต่การเลือกเมล็ดพันธุ์กันเลยทีเดียว



ผมเริ่มถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกมะละกอแบบอินทรีย์ ปลูกมะละกออย่างไร ไม่ให้เป็นโรคไวรัสด่างวงแหวน  ปลูกมะละกออย่างไรให้ได้เงินล้าน ชื่อหลักสูตรการผลิตมะละกออินทรีย์เงินล้าน

ให้กับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ
การปลูกมะละกอที่เป็นความลับมายาวนาน ก็ถูกเปิดเผย โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ทำไมการปลูกมะละกอจึงเป็นความลับ ก็เพราะคนปลูกมะละกอกลัวมะละกอล้นตลาด เนื่องจากมะละกออกลูกออกดอกทั้งปี ฉะนั้นใครทำสำเร็จก็จะเก็บเงียบ




สำหรับผมแล้ว มันไม่ใช่ความลับแต่มันเป็นความทุกข์ของเกษตรกรทุกคนที่ปลูกมะละกอ เจอปัญหาไม่รู้จะไปปรึกษาใคร  เอาปัญหาไปปรึกษามีแต่พวกขายเคมี ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ไม่มีใครช่วยวิเคราะห์ว่ามันเป็นอะไรกันแน่ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร มีแต่จ่าย จ่าย  จ่าย ลูกเดียว



มีปัญหามะละกอ ปรึกษาผมได้ยินดีตอบทุกคำถาม ไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้า ส่งรูปผ่านไลน์มาให้วิเคราะห์  ผมวิเคราะห์มาแล้วนับไม่ถ้วน  ยินดีวินิจฉัยโรคให้ฟรีโดยไม่คิดค่าตอบตอบแทนใด ๆ
ID LINE : aoacthai


โทร 0860596790


ประวัติย่อ ๆ ของผมนะครับ


วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

การแก้ปัญหามะละกอผลเน่า

การแก้ปัญหามะละกอผลเน่า


แวะไปเยี่ยมเกษตรกรท่านหนึ่ง ไปที่บ้านไม่เจอเจ้าของสวน ก็เลยจอดรดเดินเข้าไปในสวนโดยพลการ ได้ยินเสียงคน 2-3 คนกำลังคุยกันเสียงดังโวยวายมาแต่ไกล ก็เลยเดินตามเสียงไป
อ้าวน้องเจ้าของสวนมะละกอนั่นเองกำลังเถียง(ทะเลาะ) อยู่กับแม่ค้าผู้รับซื้อมะละกอเสียงดังเลย แม่ค้าเอามะละกอเที่ยวที่รับซื้อคราวที่แล้วมาคืนกว่า 300 กิโลกรัม แม่ค้าบอกว่าเอาไปวางขายได้แค่ 3 วัน แล้วมะละกอมันเน่าเป็นจุดหมดเลย รับซื้อมา 2 ตันเป็นจุดไป 300 กิโลกรัม เจ้าของสวนบอกว่า ตอนที่พี่มารับที่สวนหนูมันไม่เห็นเป็นจุดเลย ทำไมไปอยู่กับพี่แล้วมันเป็นจุด ที่ขายให้พี่ไปหนูก็คัดอย่างดีแล้วนะ

แม่ค้าบอกว่า ถ้าเจ้าของสวนไม่รับคืนหรือเปลี่ยนให้แม่ค้าก็ขาดทุน ขายของไปก็เหมือนขายฟรี ๆ ไม่ได้กำไรอะไรเลย
เขาเถียงกันอยู่นาน ผมเลยเข้าไปเป็นกรรมการมวย สุดท้ายก็ตกลงกันได้ด้วยดี วันนั้นผมเข้าข้างแม่ค้า แล้วแก้ปัญหาให้เจ้าของสวนให้มีความสุขโดยการเอาสมุนไพรต้านโรคพืชไปฝากเจ้าของสวน 3 ขวด และรับปากแม่ค้าว่าเที่ยวหน้าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดอีกหรือไม่ก็เกิดน้อยที่สุด ผมจะช่วยแก้ปัญหาให้เจ้าของสวนเอง ผมก็ค่อย ๆ เห็นรอยยิ้มของทั้งสองฝ่าย

การเป็นเกษตรกรไทย ต้องรับผิดชอบและต้องต่อสู้มากมาย ไหนจะต้องต่อสู้กับสภาวะอากาศที่แปรปรวน ทำให้พืชผลเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาอีกมากมาย ไหนจะต้องต่อสู้กับภัยแล้งไม่มีน้ำรดต้นไม้ ไหนจะต้องต่อสู้กับความไม่แน่นอนของราคาผลผลิตที่ขึ้นลงตามใจแม่ค้า ไม่สนใจต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ไหนจะต้องอดทนผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่พอใจของผู้บริโภคมีปัญหาก็ต้องรับคืน...ผมเข้าใจ แต่อย่างไรก็ต้องสู้ ถอยไม่ได้ ผมตบไหลให้กำลังใจน้องเจ้าของสวนเบา ๆ ก่อนจะอธิบายเรื่อง ของมะละกอผลเน่า


มะละกอผลเน่าตามหลักวิชาการ เกิดจากเชื้อราโรคแอนแทรคโนสมะละกอ (Colletotrichum gloeosporioides) เป็นโรคอันตรายร้ายแรงโรคหนึ่งของมะละกอถ้าเป็นแล้วจะลามไปทั้งสวน รักษาให้หายยาก โรคนี้จะไม่ทำให้ต้นมะละกอถึงกับตายแต่จะทำให้เจ้าของสวนมะละกอตายก่อน เพราะผลผลิตขายตลาดไม่ได้ ขายไปก็ต้องคอยทะเลาะกับแม่ค้าผู้รับซื้อ เพราะผลมะละกอที่เก็บไปพอเริ่มสุกแม่ค้ากำลังจะขายได้ก็จะมีจุดสีดำหรือสีน้ำตาลหรือมีรอบบุ๋มลงไปในลูก ลูกค้าไม่กล้าซื้อ แม่ค้าก็ต้องขาดทุน



จากประสบการณ์ในการปลูกมะละกอมากว่า 10 ปีของผมพบว่าโรคนี้ เกิดมาจากการที่เราเกษตรกรให้ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูงมากเกินไป เพราะเกษตรกรอยากให้ลูกมะละกอโตเร็ว จะได้ขายเร็ว ๆ จะได้คืนทุนที่ไปกู้ยืมเขามาลงทุนไว ๆ ก็เลยอัดปุ๋ยเคมีกันเต็มที่ทุก 7-10 วัน  หรือบางราย อัดปุ๋ยเคมีทุก 21 วันไร่ละ 1 กระสอบ 50 กิโลกรัม  ไนโตเจน เมื่อพืชได้รับมากจนเกินไปก็จะเกิดอาการแพ้ไนโตรเจน เกิดอาการอ่อนแอต่อโรคได้ง่าย ถ้าเปรียบเทียบกับคนก็เหมือนอาการร้อนในเป็นแผลในปากนั่นเองครับ โดยการแสดงอาการของพืชจะแสดงที่ใบพืชก่อน ใบพืชจะมีอาการเป็นจุด ๆ จากนั้นก็จะลุกลามไปทำลายลูกหรือผล





ส่วนดินเมื่อได้รับปุ๋ยเคมีมากเกินไปดินก็จะมีสภาพเป็นกรด เมื่อดินเป็นกรดนั่นหมายถึงค่า Ph จะต่ำลงนั่นเอง ซึ่งมะละกอจะเจริญเติบโตได้ดีที่ PH อยู่ระหว่าง 6-7 เพราะในภาพที่ดินเป็นกรดรากพืชก็จะทำงานได้ไม่ดี ต้นพืชก็จะอ่อนแอและเกิดโรคต่าง ๆ ตามมามากมาย

วิธีการแก้ปัญหามะละกอผลเน่า


1. ให้เกษตรกรงดการให้ปุ๋ยเคมีทุกอย่างลงชั่วคราว จนกว่าอาการของมะละกอจะดีขึ้น หลังจากนั้นให้ปุ๋ยตามปริมาณที่พืชต้องการ และไม่ให้ปุ๋ยเคมีโดยตรงกับมะละกอ ให้ปุ๋ยทางอ้อมแทน เช่นละลายน้ำก่อนให้ปุ๋ยเป็นต้น 

2. ลดปริมาณและเวลาการให้น้ำพืชลง หมายถึงให้น้ำน้อยลง เช่นเคยให้น้ำ ว้นเว้นวันก็เปลี่ยนเป็น 2 วันครั้ง ปกติให้น้ำ 2 ชั่วโมง ก็ลดเหลือชั่วโมงเดียว และให้น้ำเฉพาะช่วงเช้าเท่านั้นห้ามให้น้ำพืชตอนเย็น

3. ใช้สมุนไพรต้านโรคพืชเวตาเอ็กซ์ตราอัตรา 30 ซีซี. ผสมน้ำ 20ลิตร ผสม สารช่วยการดูดซึมนำทาง2 ฉีดพ่นทุก 5 วัน ปกติฉีดพ่น 2 ครั้งอาการก็ดีขึ้นแล้ว สังเกตจากแผลจะเริ่มแห้งตั้งแต่ฉีดพ่นครั้งแรก แต่ตามหลักความจริงให้ปลิดลูกที่เป็นโรคทิ้งแล้วฉีดพ่นล้างทั้งแปลง 5 วันครั้งติดต่อกัน3 ครั้ง จากนั้นก็ค่อย ๆ ถอยมาเป็นทุก 7 วัน ทุก 10 วันเป็นต้น

สำหรับสมุนไพรต้านโรคพืชเวตาเอ็กซ์ตรา ตัวนี้เป็นสูตรสารสกัดจากสมุนไพรไทยหลายชนิดเช่น เปลือกมังคุด ว่านน้ำ ขมิ้น ฯลฯ ที่ผมใช้เวลาคิดค้นและทดลองมาเป็นเวลากว่า 10 ปีจนได้เป็นสมุนไพรสกัดด้วยตัวทำละลายที่มีประสิทธิสูงในการกำจัดเชื้อราในปัจจุบัน เหตุผลที่หันมาศึกษาเรื่องสมุนไพรเพราะตัวเองมีปัญหาสุขภาพไม่อยากใช้สารเคมี และสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเชื้อราโรคพืชก็มีราคาแพงมาก ลิตรละหลักพันถึงหลายพันเลยทีเดียว ในขณะสมุนไพรตัวนี้จำหน่ายอยู่ที่ลิตรละ 600 บาทเท่านั้น





มีปัญหาเรื่องมะละกอ สนใจสมุนไพรต้านโรคพืชเวตาเอ็กซ์ตรา ติดต่อชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า 0860596790 ID line : aoacthai

การสั่งซื้อ
ติดต่อ ชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า
โทร 0860596790
ID line : aoacthai
E-mail : pranpha@gmail.com

หมายเลขบัญชีชำระค่าสินค้า


123-2-45945-6 ธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์
ชื่อบัญชี ประยงค์ แก้วหมุน
การจัดส่งสินค้า
จัดส่งทางไปรษณีย์ EMS ทั่วประเทศ ระยะเวลาการจัดส่ง 1-2 วัน


วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิค ทำให้ผลมะละกอสุกเร็วขึ้น



 ปัญหาหนักอกหนักใจอีกปัญหาหนึ่งของเจ้าของสวนมะละกอก็คือ มะละกอมันสุกช้าไม่ทันใจเจ้าของ ไม่ทันใจแม่ค้า ลุ้นมาหลายวันแล้วไม่ยอมเขียวสักที มาดูธรรมชาติของมะละกอกันนะครับ ปกติมะละกอเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะสุกสัปดาห์ละประมาณ 1-2 ลูกต่อต้น ถ้ามะละกอฮอลแลนด์ให้สังเกตมีแต้มสีเหลืองเกิดขึ้นที่ลูกอย่างน้อย 2 แต้มก็ให้เก็บมาบ่มได้เลยครับ แต่ปกติแม่ค้าจะรับซื้อที่ 2 แต้มนี่แหละเพราะจะได้เก็บไว้ขายได้หลายวันและเวลาเคลื่อนย้ายผิวของมะละกอจะได้ไม่ช้ำ ต่ถ้ามะละกอไม่ยอมสุกหรือสุกช้าก็เพราะ


การสุกช้าของมะละกอ....สาเหตุ




1.  มะละกอขาดน้ำ  หรือ มีน้ำมากจนเกินไป
2.  มะละกอขาดธาตุอาหารหลัก คือ โปรแตสเซี่ยม ธาตุโปรแตสเซี่ยม มีผลต่อการสะสมแป้งและน้ำตาลในมะละกอ ทำให้ผลมะละกอสุกช้าได้
3.  มะละกอขาดธาตุอาหารเสริมที่จำเป็น นั่นก็คือ ธาตุโบรอน ธาตุโบรอน มีผลต่อการเข้าสี ธาตุโบรอนทำให้เนื้อแน่น ผิวสวยและมีรสชาติดี
4.  มะละขาดฮอร์โมนพืชบางอย่าง เช่น จิบเบอเรลลิน
5.  ความเป็นกรดเป็นด่างในดินก็ผลต่อการสุกด้วยนะครับ พบว่า ดินเป็นด่างจะทำให้มะละกอสุกเร็วกว่าดินเป็นกรด
6.  การได้รับธาตุอาหารพืชบางอย่างมากเกินไป เช่นไนโตรเจน ก็ทำให้มะละกอสุกช้าและฉ่ำน้ำ เนื้อเหลว ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
7.  การให้น้ำมากเกินไป ก็มีผลทำให้มะละกอสุกช้าและฉ่ำน้ำเช่นกันครับ


การแก้ปัญหาการสุกช้าแบบได้ผล



1.ควบคุมการให้น้ำให้ดินมีความชื้นอยู่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ หรือให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้งในหน้าร้อนตามสภาพดิน

2.เติม ธาตุอาหารทางดินให้พืช ใช้แร่โปแตสเซียม(โปแตสเซี่ยมคลอไรด์ KCL) หรือรู้จักกันในรูป 0-0-60 อัตราการใช้ 2 กิโลกรัมละลายน้ำ 200 ลิตร เติมไวท์อีเอ็ม 500 ซีซี.หมักทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้แร่โปแตสเซี่ยมแตกตัวเป็นอิออน ที่พืชสามารถนำไปใช้งานได้ทันที จากนั้นนำไปราดโคนต้นมะละกอทุก 7-10 วัน โปแตสเซี่ยมจะทำหน้าลำเลียงแป้งและน้ำตาลจากใบพืชลงมาสู่ผลมะละกอ แป้งและน้ำตาลมีผลต่อการแก่และการสุกของผลไม้


3.  ฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบ บิ๊กไซส์(bigsize) 30 ซีซี. +โบรอนน้ำเข้มข้น 20 ซีซี. + นำทาง2อัตรา 1 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทางใบให้เป็นละอองฝอยทุก 5-7 วัน


รับรอง ผลมะละกอจะสุกทันใจเจ้าของสวนและทันใจแม่ค้าผู้รับซื้อ  เพราะบิ๊กไซด์มีส่วนผสมของ สาหร่ายทะเล  กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการสร้างเนื้อและการสุกของผลไม้  ฮอร์โมนพืชที่มีปริมาณความเข้มข้นสูง  น้ำตาลทางด่วนเพิ่มสร้างเสริมแป้งและน้ำตาลในผลไม้ เป็นต้น    โบรอนความเข้มข้นสูงของชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้าเป็นโบรอนที่สกัดจากธรรมชาติละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสม เมื่อฉีดพ่นเข้าสู่ใบพืช จะทำให้พืชนำไปใช้งานได้ทันที



ข้อมูลจำเพาะบิ๊กไซด์
สารอินทรีย์เพิ่มขนาดผลไม้ ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น สาหร่ายทะเล น้ำตาลทางด่วน ธาตุเสริมที่จำเป็น ฯลฯ ทำให้ผลไม้โตไว เข้าสีดี ป้องกันผลแตก ผิวสวย รสชาติดี เพียงฉีดพ่นหลังผลไม้ติดลูกทุก 5-7 วันความผลไม้จะสุกไว ลดระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวเพิ่มน้ำหนักผลผลิต เพิ่มงินทองเข้ากระเป๋าให้กับ เจ้าของสวนอัตราการใช้ 20 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร 





หมายเหตุ : โดยทั่วไปเกษตรจะถูกแนะนำให้ใช้แคลเซี่ยม-โบรอนฉีดพ่น อยากจะบอกว่าไม่ค่อยได้ผลเพราะมีโบรอนต่ำแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เองแต่โบรอนของชมรมฯโบรอนมีความเข้มข้นมากว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้เห็นผลได้ชัดเจน 



บิ๊กไซส์ขนาด 500 ซีซี 450 บาท เอซีโบรอนขนาด 1 ลิตร 450 บาท
สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ โทร 086-059-6790 ID line : aoacthai
หมายเลขบัญชีการชำระค่าสินค้า 123-2-45945-6
ธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์
ชื่อบัญชี นายประยงค์ แก้วหมุน ประเภท ออมทรัพย์
การจัดส่งสินค้า จัดส่งผ่านไปรษณีย์ Ems ใช้ระยะเวลา 1-3 วัน

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

การตลาดมะละกอ


คุณใหญ่ครับ ผมมั่นใจเรื่องพันธุ์ และ ผลิตภัณฑ์ จากทีมงานมากครับ ผมทดลองเรียนรู้ ปลูกประมาณ 1 ไร่ ตอนนี้ 3 เดือน เริ่ม แทงดอกคัดเพศแล้วครับ มีที่เป็นโรคบ้าง ขออนุญาตครับว่า น่าจะมีทีมงานที่ปรึกษาด้านการตลาดแนะนำสมาชิกด้วยนะครับ เพราะบางที่ ราคาหน้าสวนกิโลละ 3 บาท
ถูกใจ · ตอบกลับ · ข้อความ · 1 · 22 ตุลาคม 2015 เวลา 14:33 น.
มีคนเข้ามาตอบเมื่อผมโพสต์คติสอนใจ ที่มีรูปมะละกอ ผมมองแค่ผ่าน ๆ เพราะว่าตั้งใจจะให้คติธรรม ไม่ได้จะสอนวิชาการเรื่องมะละกอ มะละกอเป็นเพียงแค่ภาพประกอบเท่านั้น
จากคอมเมนต์หรือคำตอบที่ผมได้มา ทำให้ผมรู้ว่าเกษตรกรไทย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการผลิต แต่เกษตรกรไทยส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเรื่องการตลาด
ปลูกแล้วเป็นโรคก็โค่นทิ้ง ไถทิ้งปลูกใหม่ ยอมสู้ตาย ขอให้สินค้าราคาดีก็พอ อ้าวแล้วถ้าปลูกแล้วราคาไม่ดีล่ะจะทำอย่างไรดี ก็ยอมโค่นทิ้งเหมือนกัน แล้วนำที่ทางไปมอบถวายให้ ธกส.หรือ นายทุนที่ไปกู้ยืมเงินเขามาลงทุน
ผมเคยยบอกหลายคนว่าไม่ว่าเราจะปลูกพืชอะไรก็ตาม ขอให้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของพืชที่เราปลูก แต่ต่อจากนี้ไปนอกจากเราจะรู้ธรรมชาติของพืชที่เราปลูกแล้ว เราจะต้องเรียนรู้ธรรมชาติการตลาดของพืชที่เราปลูกด้วย
หมายความว่าอย่างไร เกษตรกรต้องจบการตลาดด้วยใช่ไหม ใช่ครับ เกษตรกรต้องเข้าใจการตลาดด้วย จะจบหรือไม่จบไม่สำคัญ
ฟังดี ๆ นะการปลูกมะละกอเหมือนกับการเล่นหุ้น มีขึ้นมีลงเป็นรายวัน รายเดือน รายปี ปลูกมะละกอต้องรู้จังหวะฉะโคน ต้องรู้ว่ามะละกอช่วงไหนแพง ก็ปลูกให้ออกลูกช่วงนั้น ไม่ใช่ปลูกให้ออกลูกทั้งปีแล้วมานั่งโอดครวญว่ามะละกอถูก ใครก็ไม่ซื้อ รัฐบาลก็ไม่ช่วย มัวแต่ทะเลาะกัน
ผมปลูกมะละกอ ผมมานั่งแก้ปัญหารายวัน บางวันก็ต้องเป็นกรรมการมวยจำเป็น เนื่องจากแม่ค้ามาทะเลาะกันหน้าสวน แย่งซื้อมะละกอกันหน้าสวน ผมไม่ต้องไปตะเวนขายมะละกอ ผมไม่ต้องไปหาตลาด ตลาดวิ่้งมาหาผม
ทำไมจึงเกิดปัญหาเช่นนั้นกับผม ก็เพราะผมปลูกมะละกอให้มันเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือน สิงหา กันยา ตุลา ของทุกปี ผมนั่งรออยู่ที่สวนแม่ค้าก็วิ่งเข้ามาจนเกิดโกลาหนแล้วครับ
แค่เป็นปริศนาให้คิด เป็นเกษตรกรก็รวยได้ ถ้าเข้าใจธรรมชาติและการตลาดของพืชที่เราปลูก
yaiyada 3/9/59

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หอยทากหน้าฝน

หอยทากหน้าฝน

โพสต์ให้อีกรอบนะครับ สมาชิกหลายท่านถามเข้ามาเยอะ ว่าจะจัดการกับมันอย่างไรดี จะใช้ยาอะไรจัดการกับมันดี ลองเอาวิธีการจากบทความนี้ไปทำกันดูนะครับ
หอยทาก ศัตรูมะละกอที่ไม่ควรมองข้าม
ปกติหอยทากไม่ใช้ศัตรูมะละกอ แต่จากสภาพป่าที่ลดลง จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้หอยทากกลายเป็นสัตว์ศัตรูมะละกออีกตัวที่ไม่น่าไว้วางใจ หอยทากจะไปวางไข่บนยอดอ่อนของมะละกอ แล้วแพร่กระจายตัวอ่อนไปทั่วยอดอ่อนของต้นมะละกอ
อันตรายของหอยทาก
1.หอยทากจะไปกัดกินขั้วดอกของมะละกอ ทำให้มะละกอดอกร่วง ไม่ติดติดผล สร้างความเสียหายให้กับการผลิตมะละกอ
2.การที่หอยทากเดินไปตามผลของมะละกอ น้ำลายหอยทาก จะให้เกิดเชื้อรา มีผลทำให้ผลเน่า และ ผิวของผลไม่สวย ทำให้ขายไม่ได้ราคา
การแก้ปัญหาการระบาดของหอยทาก
1. ควรเก็บหอยทากออกจากยอดอ่อนของมะละกอก่อน
2.โรยแกลบดิบบริเวณโคนต้นมะละกอ แกลบดิบจะทำให้หอยทากเดินด้วยปากไม่สะดวกเกิดการระคายเคือง
3. ถ้าวิธีที่2 ใช้ไม่ได้ผล ให้ใช้ถุงพลาสติดมัดรอบต้นมะละกอ จะทำให้หอยทากลื่นไหลปืนขึ้นสู่ยอดมะละกอไม่ได้
ใคร ๆ ที่เจอปัญหานี้ไปลองแก้ไขกันดูนะครับ
มีปัญหาเรื่อง มะละกอ สอบถาม ชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า ที่ ID line : aoacthai
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ทั้งภาพและบทความครับ ภาพแอดมินถ่ายเอง เพราะใช้แก้ปัญหาที่สวนตัวเองครับ

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เมล็ดพันธุ์มะละกอคัดพิเศษ

เมล็ดพันธุ์มะละกอคัดพิเศษ
รับประกันความงอก ไม่งอกส่งให้ใหม่ฟรี จนกว่าจะงอก



มีจำหน่ายแล้วนะครับ
ขนาด 20 กรัม 500 บาท
ขนา 50 กรัม 950 บาท

สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ โทร 086-059-6790 ID line : aoacthai
หมายเลขบัญชีการชำระค่าสินค้า 123-2-45945-6
ธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์
ชื่อบัญชี นายประยงค์ แก้วหมุน ประเภท ออมทรัพย์
การจัดส่งสินค้า จัดส่งผ่านไปรษณีย์ Ems ใช้ระยะเวลา 1-3 วัน

ทำไมต้องใช้เมล็ดพันธุ์คัดพิเศษ


คุณสมบัติพิเศษของเมล็ดพันธุ์มะละกอคัดพิเศษ
1.เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์มาอย่างพิเศษ
2.คัดเลือกเฉพาะผลมะละกอจากต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์
แข็งแรงไม่เป็นโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไวรัสด่างวงแหวน
3. ผลมะละกอที่ถูกคัดเลือกจะต้องผลใหญ่ ได้ขนาดตรงตามสายพันธุ์เท่านั้น
4.ที่สำคัญที่สุดคัดเลือกจากต้นและดอกมะละกอสมบูรณ์เพศ(ดอกกะเทย)เท่านั้น ไม่คัดเลือกเมล็ดมะละกอจากต้นมะละกอตันตัวเมียอย่างเด็ดขาด
(หมายเหตุ ถ้าเลือกเมล็ดพันธุ์จากผลมะละกอจากต้นตัวเมีย แม้จะได้จำนวนเมล็ดจำนวนมากก็จริง แต่เมื่อนำไปปลูกลงแปลงต้นใหม่จะเป็นต้นตัวเมียทั้งหมด)
5.มีเปอร์เซ็นต์การเป็นต้นสมบูรณ์เพศสูง เมื่อนำไปเพาะปลูกลงแปลงเพราะเราได้คัดเลือกโดยใช้หลักวิชาการและประสบการณ์การปลูกมะละกอมากว่า 10 ปี

6.ได้เมล็ดพันธุ์ที่เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ขั้นตอนการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เราจะนำเมล็ดมะละกอที่เราเลือกไปลอยน้ำก่อนและคัดเลือกเอาเฉพาะส่วนที่จมน้ำเท่านั้น ส่วนที่ลอยน้ำคัดทิ้งอย่างเดียว)
หมายเหตุ: ถ้าท่านซื้อเมล็ดพันธุ์จากทางชมรมฯไปแล้วเมล็ดไม่งอก เรารับประกันส่งเมล็ดพันธุ์ให้ใหม่จนกว่าจะงอก เกษตรกรจะได้สบายใจไม่ต้องกังวลกับการลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์มะละกอซ้ำซ้อน เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีเงินทุนน้อยอยู่แล้ว ไม่รู้จะเอารัดเอาเปรียบกันไปทำไม



วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ไวรัสมะละกอ หยุดได้ด้วยปราณฟ้า

ไวรัสมะละกอ หยุดได้ด้วยปราณฟ้า

อาการของไวรัสมะละกอด่างวงแหวน จะเกิดอาการใบงอหงิกสีเหลืองด่าง ๆบริเวณยอดอ่อนก่อน จากนั้นจะลามไปทั่วทั้งต้น และลงบริเวณลูกมะละกอ

อาการบริเวณใบ ให้สังเกตอาการยอดหงิก แล้วบริเวณก้านใบจะมีเป็นจุด ๆ จ้ำ ๆ คล้าย ๆ อาการจุดฉ่ำน้ำ

อาการไวรัสด่างวงแหวนลงลูกมะละกอ จะมีอาการเป็นจ้ำ ๆ จุด ๆ ลาย ๆ คลายตุ๊กแก เมื่อลูกสุกผ่าชิมรสชาติ จะออกขม ๆ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด




ความรุนแรงของโรค ทำให้มะละกอยืนตายคาต้น ท่อน้ำเลี้ยง ท่ออาหารอุดตัน พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้
พาหะนำโรค คือแมลงหวี่ขาวและแมลงปากดูดบางชนิด

การป้องกัน ควรสร้างภูมิคุ้มกันโรคพืชตั้งแต่ในโรงเรือน และควรฉีดพ่นสมุนไพรไล่แมลงหวี่ขาวและแมลงปากดูดบางชนิดให้ออกจากแปลงอยู่เสมอ

การแก้ปัญหา ต้นมะละกอที่มีอาการโรคที่ค่อนข้างจะหนัก จะตัดทำลายทิ้งแล้วฝังดิน หรือ นำออกจากแปลง ส่วนต้นที่เพิ่งแสดงอาการและยังไม่แสดงอาการ ให้ใช้ปราณฟ้าอัตรา 30 ซีซี.ผสมสารช่วยการดูดซึมนำทาง2อัตรา 1 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 5 วันทั้งแปลงจนกว่าอาการค่อย ๆ ดีขึ้นแล้วค่อยฉีดพ่นสร้างภูมิคุ้มกันทุก 15 วัน อัตรา 20 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร

ปราณฟ้า เป็น สารอินทรีย์สกัด ประกอบด้วยกรดอะมิโน และเซรัมแบคทีเรีย มีผลในการสร้างภูมิคุ้มกัน ทำให้พืชแข็งแรงต่อต้านไวรัสโรคพืชได้ดี ปราณฟ้า เป็นสารอินทรีย์ปลอดภัยต่อคน และสิ่งแวดล้อม ใช้ป้องกันโรคไวรัสมะละกอด่างวงแหวนอย่างได้ดีเยี่ยมและเห็นผลมากว่า 10 ปี
หมายเหตุ : ใช้กรณีพืชเป็นโรคแล้ว 30 ซีซีผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 5 วัน
: ใช้ป้องกัน กรณีพืชยังไม่เป็นโรค 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทุก 15 วัน
ราคาผลิตภัณฑ์ ขนาด 500 ซีซี 700 บาท ขนาด 1 ลิตรราคา 1100 บาท ค่าจัดส่งไปรษณีย์ 80 บาท
สนใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ โทร 086-059-6790 ID line : aoacthai

หมายเลขบัญชีการชำระค่าสินค้า 123-2-45945-6
ธนาคารกสิกรไทย สาขาลำนารายณ์
ชื่อบัญชี นายประยงค์ แก้วหมุน ประเภท ออมทรัพย์
การจัดส่งสินค้า จัดส่งผ่านไปรษณีย์ Ems ใช้ระยะเวลา 1-3 วัน