มะละกออินทรีย์

มะละกออินทรีย์
ทางเลือกใหม่ของการปลูกมะละกอ

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการปลูกมะละกออินทรีย์

การเพาะเมล็ด

ก่อนเพาะเมล็ดจะต้องมีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ก่อน ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นมะละกอที่แข็งแรง ไม่เป็นโรค ลูกมะละกอสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ ถ้าได้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นลูกมะละกอที่เกิดจากดอกชุดแรก (คอแรก) หรือลูกมะละกอที่เกิดจากดอกชุดที่สอง (คอสอง) จะดีมาก ให้คัดเลือกจากต้นมะละกอที่เป็นต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกระเทยเท่านั้น อย่าใช้เมล็ดมะละกอจากต้นตัวเมียเด็ดขาดเพราะมะละกอที่เกิดขึ้นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเมีย และถ้าจำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ก็ควรซื้อจากแหล่งผลิตที่ไว้วางใจได้เท่านั้น ไม่ควรซื้อมะละกอที่ตลาดมาผ่าเอาเมล็ดปลูกเองเพราะเรามักจะไม่ทราบแหล่งที่ไปที่มาที่แน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่จะกลายพันธุ์

ภาพแสดงมะละกอคอแรกที่เหมาะสำหรับทำเมล็ดพันธ์

การคัดเลือกเมล็ดจากลูกมะละกอ ให้นำผลมะละกอที่สมบูรณ์มาตัดหัวตัดท้ายแล้วคัดเลือกเมล็ดเอาเฉาะตรงกลางผลเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้จะได้เมล็ดมะละกอที่ตรงตามพันธุ์และมีความเป็นดอกกระเทยหรือดอกสมบูรณ์เพศสูง เมื่อได้เมล็ดมาแล้วให้นำเมล็ดไปขยี้เอาเมือกออก นำไปผึ่งลมให้แห้ง (ไม่ควรนำเมล็ดไปตากแดด) แล้วเก็บเข้าตู้เย็น ไว้ใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป

                                          ภาพแสดงการตัดหัวตัดท้ายผลมะละกอเพื่อใช้ในการ
                                          เก็บเมล็ดพันธุ์

ขั้นตอนการเพาะเมล็ด

1. นำเมล็ดไปแช่น้ำสะอาดหรือผสมไคโตซาน 5 ซี.ซี ผสมน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 1 คืน ถ้าเมล็ดเก็บไว้นาน หรือ เพาะในช่วงหน้าหนาวให้ นำน้ำร้อน 1 แก้ว ผสมน้ำธรรมดา 1 แก้วลวกเมล็ดก่อน 5 นาทีเพื่อกระตุ้นการงอก แล้วจึงนำไปแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ 1 คืน
2. นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว 1 คืนไปล้างให้สะอาด แล้วนำเมล็ดมาแช่ใน สารละลาย วีอาร์โปรเทค (สมุนไพรกระตุ้นการงอก และ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน) อัตราการใช้ 50 ซี.ซี ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที
3. จากนั้นนำเมล็ดมะละกอไปบ่มในกระสอบป่าน 3 วัน 3 คืนวางในห้องน้ำรดน้ำเช้าเย็น แล้วนำไปหยอดลงถาดหลุมสำหรับเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะที่เตรียมไว้

การเตรียมดิน
       ขั้นที่ 1. การไถดะ ใช้รถไถใหญ่ (60 แรงขึ้นไป) ใช้ผาล 2 หรือ ผาล 3 ไถให้ลึก 30-50 เซ็นติเมตร ให้ทั่วทั้งแปลงที่จะปลูกมะละกอ
            ขั้นที่ 2. การไถยกร่อง ใช้ผาล 7 (ผาลพวง 7 จาน) ไถยกร่องวิ่งไปกลับ  2-3 รอบ ตั้งระยะห่างระหว่างร่อง 3 เมตร ก็จะได้ร่องปลูกมะละกอที่สวยงาม   (ดังภาพ)



                                           ภาพแสดงการยกร่องสำหรับการปลูกมะละกอมส
ข้อดีของการยกร่องสูง
1.     ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า เพราะน้ำจะไม่ท่วมขัง
2.     ง่ายต่อการดายหญ้า เพราะพื้นที่เอียงจะดายหญ้าง่ายกว่าพื่นที่ราบ
3.     จะเพิ่มรสชาติความหวานตอนเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะจะทำให้พืชไม่ดูดน้ำมากจน
เกินไป
 
ขั้นตอนการปลูก
1.      ระยะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ 2.5 x 2.5 เมตร หรือ 3 x  3 เมตร
2.      ขุดหลุมปลูกเพียงหน้าจอบเดียว (ลึกประมาณ 10-15 เซ็นติเมตร) อย่าขุดหลุมลึก เพราะการขุดหลุมลึกเป็นที่มาของโรครากเน่าและโคนเน่า หลุมลึกเป็นที่ขังของน้ำซึ่งมะละกอไม่ชอบน้ำขังเกินไป
                                              ภาพแสดงระยะการขุดหลุมปลูกมะละกอ
3. ฉีดพ่นสมุนไพรป้องกันโรค เวตา (wata) อัตราการใช้ 200 ซี.ซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงในหลุมให้ทั่ว กำจัดเชื้อโรคพืชบริเวณผิวดิน
4.      รองก้นหลุมด้วย หัวอาหารพืชชนิดเข้มข้น 1 ช้อนต่อ 1หลุม และหว่าน สารปรับปรุงดิน ซุปเปอร์ไฮเทค 1 กำมือลงไปในหลุม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน  
  
                    ภาพแสดงการฉีดพ่นสมุนไพรลงหลุม

              ภาพแสดงการใส่หัวอาหารพืชรองก้นหลุม    
                         
ภาพแสดงการใส่สารปรับปรุงดิน 
   
5.      นำต้นกล้าที่เตรียมไว้แล้วไปจุ่มในสารละลาย วีอาร์โปรเทค อัตราการใช้ 50 ซี.ซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อขยายรากพืช และ สร้างภูมิคุ้มกันโรคไปในตัว ทำให้พืชทนแดดทนร้อนได้ดี
แสดงการจุ่มต้นกล้าก่อนปลูก

   

6.      น้ำต้นกล้าปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้ โดยค่อย ๆ ดึงต้นกล้าขึ้นจากถาดหลุด หรือ ถ้าเป็นถุงดำให้บีบถุงก่อนแล้วค่อย ๆ ดึงถุงออก (อย่าดึงต้นกล้าให้ดึงถุงเท่านั้น) แล้วนำต้นกล้าค่อยปลูกลงดินอย่างทะนุ-ถนอม
ภาพแสดงการปลูกมะละกอ

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จำหน่ายต้นกล้ามะละกอ ปลอดไวรัส

            มาแล้วครับต้นมะละกอ สำหรับสมาชิกชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า และท่านผู้สนใจตอนนี้ทางศูนย์บริการสมาชิกชมรมเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้าบ้านสวนฟาร์ม จังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีต้นกล้ามะละกอจำหน่ายแล้วครับ ซึ่งตอนนี้เรามี 2 สายพันธุ์คือ มะละกอฮอลแลนด์ และ มะละกอฮาวายครับ

                             ตัวอย่างต้นกล้ามะละกอฮอลแลนด์

                                  ตัวอย่างต้นกล้ามะละกอฮาวาย
ต้นกล้าทุกต้นแข็งแรงพร้อมปลูก ผ่านกระบวนป้องกันไวรัสมะละกอมาเป็นอย่างดี เราเพาะในถาดหลุม ถาดละ 60 หลุมๆ ละ1-3 ต้น จำหน่ายหลุมละ 7 บาทท่านใดที่สนใจติดต่อได้ที่ 086-059-6790 email : hartothai@hotmail.com เราบริการแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลมะละกอตลอดอายุการเก็บเกี่ยวครับ

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นำทาง2 สารช่วยการดูดซึมในมะละกอ

นำทาง 2
สารช่วยการดูดซึมชนิดพิเศษ
ช่วยทำให้สารต่าง ๆ แทรกซึม
และแผ่กระจายสู่ใบพืชได้อย่างรวดเร็ว
ลดการใช้สารเคมีลด 50 %
เพิ่มการออกฤทธิ์ของปุ๋ยเคมี อาหารเสริมต่าง ๆ 
 และสารเคมีชนิดต่าง
อัตราการใช้
 1-3 ซี.ซีผสมน้ำ 20 ลิตร หรือ 10 ซี.ซี.ผสมน้ำ 200 ลิตร
วิธีการใช้
          หลังการผสมปุ๋ยหรือสารเคมีต่าง ๆ ในถังแล้วเติม นำทาง 2 จากนั้นคนให้ทั่ว
 การฉีดพ่น
          ฉีดพ่นให้เป็นละอองฝอยจนทั่ว

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ฮิวมิก-ซี (HUMIC – C) สารปรับปรุงดินชนิดพิเศษ



มารู้จักวิธีการใส่ป๋ยมะละกอแบบฉีดลงดินกันเถอะ
ฮิวมิก-ซี (HUMIC – C) สารปรับปรุงดินชนิดพิเศษ
ประกอบด้วย:
 ฮิวมิก แอซิด อะมิโน แอซิด  สาหร่ายทะเลน้ำลึก กรดซิลิเกต ฯลฯ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชและช่วยในการปรับปรุงสภาพและโครงสร้างของดิน
ประโยชน์ :
1.     ทำให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี
2.     ต้นพืชเติบโตแข็งแรง เพิ่มผลผลิตสูงให้กับพืช
3.     ช่วยระเบิดดินทำให้ดิน โปร่งร่วนซุยสูง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นมะละกอ
4.     และเพิ่ม อินทรียวัตถุให้กับดิน

วิธีการและอัตราการใช้ : 
1.       ใช้ฮิวมิก-ซี อัตรา500 กรัม ผสมน้ำ  200 ลิตรฉีดพ่นลงดิน
-  ครั้งแรกเมื่อมะละกออายุได้ 1 เดือนนับจากวันปลูก
หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นเดือนละครั้ง
2.       ฉีดพ่นเวลาไหนก็ได้ หลังฉีดพ่นแล้วให้น้ำตามหรือฝนตกจะดีมาก

หมายเหตุ : ในกรณีที่เกษตรกรต้องการประหยัดต้นทุนสามารถใช้ฮิวมิก-ซี แทนปุ๋ยทางดินได้


วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาการขาดธาตุโบรอนในมะละกอ

อาการขาดธาตุโบรอนในมะละกอจะทำให้มะละกอยางไหลให้สังเกตุที่ลูกหรือผลมะละกอ เมื่อมะละกอเกิดแผลเนื่องจากยางไหลก็จะเกิดเชื้อราตามมาซ้ำเติมอีกครั้ง เป็นอาการหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอเป็นจำนวนมาก

ไวรัสมะละกอ โรคพืชที่ร้ายแรงที่สุดของมะละกอ

                                  อาการไวรัสแสดงที่ยอดอ่อนทำให้ใบมะละกอหงิกงอ
อาการไวรัสขั้นรุนแรงเริ่มลงที่ลูก ทำให้ลูกมะละกอมีลักษณะเป็นจุดตุ๊กแก เนื้อในรสชาติขมรับประทานไม่ได้

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดูแลมะละกออินทรีย์เงินล้าน

คำนำ
การดูแลมะละกออินทรีย์เงินล้าน เป็นงานเขียนที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นมาจากประสบการณ์การปลูกมะละกอจริงของผู้เขียน ฉะนั้นบางวรรคบางตอนอาจจะไปขัดแย้งกับนักวิชาการหรือผู้รู้หลายท่านที่ได้ศึกษามาก่อนแล้ว ผู้เขียนก็ขอกราบขออภัยท่านผู้รู้เหล่านั้นมาด้วยความจริงใจ ทุกขั้นทุกตอนในเอกสารฉบับนี้ได้ถูกทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนผู้เขียนมั่นใจว่าจะเป็นแนวทางให้เกษตรกรและผู้สนใจปลูกมะละกอ ได้นำไปปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาการปลูกมะละกอแบบเก่า ๆ ที่เราเคยประสบกันมา ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาโรคพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งพบกันมากสำหรับผู้ปลูกมะละกอในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากวิธีการปลูกที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง โรคไวรัสด่างวงแหวนซึ่งถึอว่าเป็นศัตรูตัวร้ายที่สุดของมะละกอเป็นปัญหาที่ประสบกันทั่วโลก อยากให้เกษตรกรและผู้สนใจปลูกมะละกอลองปฎิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารเล่มนี้ดู ทางผู้เขียนได้ทดสอบในแปลงมะละกอของผู้เขียนเองปรากฎว่ามะละกอเป็นโรคนี้น้อยมากหรือบางครั้งไม่เป็นเลย มะละกอเป็นพืชที่ต้องการการดูแลรักษาสูง แต่ผลตอบแทนก็คุ้มค่าเช่นกัน เพราะมะละกอเป็นพืชที่ออกดอกออกลูกทั้งปี ให้ผลผลิตไม่มีวันหยุด
ท้ายสุดอยากจะบอกกับผู้ปลูกมะละกอทุกท่านว่า “ต้นไม้ยามเล็กต้องดูแลเขา โตขึ้นเขาจะดูแลเรา” ขอให้มีความสุขกับการปลูกมะละกอ อาชีพที่ท่านรัก

ขอมูลจะทะยอยนำมาอัพเดทให้เรื่อย ๆ นะครับ